top of page
  • ibornss168

มาตรฐานท่อสแตนเลสและการเลือกใช้ในงานท่อโรงงานเครื่องดื่มและยา

อัปเดตเมื่อ 17 ก.ค. 2566


สำหรับท่อสแตนเลสในอุตสาหกรรมจะมีความสำคัญมากเพราะเป็นวัสดุที่มีความคงทน ไม่เกิดสารปนเปื้อน และไม่เป็นสนิม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม และยา ท่อสแตนเลส จะนิยมใช้อย่างมากในวงการงานท่อโรงงานเครื่องดื่มและยา ซึ่งจะมีให้เลือกหลายเกรด เช่น ลักษณะผิว คุณสมบัติ และมาตรฐาน เป็นต้น ดังนั้นการเลือกใช้แต่ละเกรดจึงมีความสำคัญมาก ไม่ว่าเกี่ยวกับความปลอดภัย ความคุ้มค่า และกฎข้อบังคับของการผลิต หรือระเบียบของ อ.ย. ทั้งนี้ เรามาทำความรู้จักกับ เกรด และท่อสแตนเลสมาตรฐานต่างๆ ที่นิยมใช้ในงานท่อโรงงานเครื่องดื่มและยา ในเมืองไทยเราดังนี้


Industry Grade เป็นท่อสแตนเลสที่ใช้ในงาน Utility ลำเลียง น้ำ, ลม, steam ที่ไม่ได้คำนึงถึงการปนเปื้อนทางจุลินทรีย์ ซึ่งลักษณะผิวไม่ได้ออกแบบมาสำหรับป้องกันการสะสมของเชื้อจุลินทรีย์ โดยมาตรฐานที่รู้จักและใช้มากในเมืองไทยได้แก่

  • มาตรฐาน ASTM (American Society for Testing Material)ส่วนใหญ่มาตรฐานนี้ที่เราใช้จะเป็นกลุ่มท่อสำหรับ Industry หรือบางคนจะเรียกว่า ท่อ Schedule เพราะจะมีชื่อเรียกตามความหนาของท่อ เช่น Sch.#5, Sch.#10, Sch.#40 เป็นต้น ซึ่งท่อกลุ่มนี้จะใช้สำหรับ Utility เป็นหลัก

Sanitary Gradeหรือ บางทีจะเรียกว่า Food Gradeเป็นท่อสแตสเลน ที่ผลิตมาสำหรับป้องกันการสะสมของเชื้อจุลินทรีย์ที่ผิวของท่อ ดังนั้นจึงมีการกำหนดมาตรฐานความเรียบของผิวท่อ (Roughness:Ra), ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง, ความหนา และอื่นๆ เป็นต้น โดยมาตรฐานของท่อประเภทนี้ที่นิยมใช้ได้แก่

  • มาตรฐาน DIN (Deutsches Institut für Normung) เป็นมาตรฐานของ เยอรมัน โดยบางคนจะเรียกว่าท่อ DIN ซึ่งมีการกำหนดขนาดท่อเป็น DN โดยที่ใช้ส่วนมากจะเป็น DIN11850 serier2. จะระบุขนาดเช่น DN50 จะมี OD. 53 mm. และหนา 1.5 mm. เป็นต้น

  • มาตรฐาน ISO (International Organisation for Standardization) โดยบางทีจะเรียกว่าท่อ ISO ปกติแล้วท่อที่ใช้สำหรับ Food grade จะเป็น DIN EN ISO 1127 โดยขนาดท่อจะระบุเป็น DN เช่นเดียวกับท่อ DIN แต่ขนาดจะแตกต่างกันเช่น DN50 จะมี OD. 60.3 mm. และหนา 2 mm.

  • มาตรฐาน SMS (Swedish Milk Stardard) เป็นมาตรฐานท่อสแตนเลสสำหรับ อุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม โดยขนาดท่อจะระบุเป็น นิ้ว เช่น ท่อ 2” จะมีขนาด OD 51.0 mm. และ หนา 1.20 mm.

  • มาตรฐาน JIS (Japannese Insustrial Standard) เป็นมาตรฐานของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งสำหรับท่อสแตนเลส สำหรับอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม นม จะเป็น JIS G3447 โดยจะมีมาตรฐานการกำหนดขนาดไว้ เช่น size 2.0S จะมีขนาด OD 50.8 mm. และ หนา 1.5 mm.


Pharmaceutical Grade ซึ่งเป็นท่อสแตนเลส ที่มีราคาสูง ใช้ในกลุ่มอุตสาหกรรม ที่ต้องการความรักษาความสะอาดมาก เช่น อุตสาหกรรมยา, semi-conductor, นิวเคลียร์ เป็นต้น ซึ่งมาตรฐานที่ใช้เป็นหลักคือ

  • มาตรฐาน ASME BPE (American Society of Mechanical Engineers for Bioprocessing Equipment) เป็นมาตรฐานที่ควบคุมเกี่ยวกับคุณภาพของท่อสแตนเลส เมื่อให้เหมาะสำหรับการใช้ในอุตสาหกรรมยา เช่น ลักษณะผิวภายในจะมีกำหนดไว้ เป็น SF1 – SF6

สำหรับขนาด จะมีระบุเป็น นิ้ว เช่น ท่อขนาด 2” จะมีขนาด OD 50.8 mm. และหนา 1.65 mm. โดยท่อสแตนเลส มาตรฐาน ASME BPE นี้ เราสามารถดูได้จาก เครื่องหมายบนท่อ ดังนี้



การเลือกใช้ท่อ สแตนเลส ในงานท่อโรงงานเครื่องดื่มและยา

จากมาตรฐานท่อสแตนเลสต่างๆ ที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้น..จะเห็นว่าการเลือกใช้ท่อสแตนเลสให้เหมาะสมกับการใช้งานมีความสำคัญมาก ทั้งมีผลต่อคุณภาพของสินค้าที่จะผลิตและงบประมาณลงทุนสำหรับการเดินท่อ ซึ่งในงานท่อโรงงานเครื่องดื่มและยาแต่ละแห่ง อาจจะใช้ท่อสแตนเลส ทั้งแบบ Industry grade, Sanitary grade และ Pharmaceutical grade โดยจะขึ้นอยู่ process ที่ใช้งาน เช่นในส่วนของ Utility (น้ำใช้, ลม, ไอน้ำ) ก็เป็นท่อ Industry grade ส่วนใน process การผลิต ก็เป็น Sanitary และ Pharmaceutical grade เป็นต้น

นอกจากนี้ สิ่งสำคัญของท่อแต่ละมาตรฐาน ก็คือ ขนาด OD. และ ความหนา ซึ่งจะเป็นว่า แต่ละมาตรฐาน จะมีขนาดที่แตกต่างกัน สำหรับการใช้งาน โดยเฉพาะการเชื่อมต่อท่อสแตนเลสเข้าด้วยกัน จะมีความจำเป็นจะต้องใช้มาตรฐานเดียวกัน เพื่อจะทำให้รอยเชื่อมของท่อสมบูรณ์ และเป็นไปตามหลัก Hygienic.




bottom of page